Home » ธุรกิจส่งออก » บทความธุรกิจ SME » เขตการค้าเสรี - FTA (Free Trade Area)

เขตการค้าเสรี - FTA (Free Trade Area)

เขตการค้าเสรี - FTA (Free Trade Area)

FTA คือ เขตการค้าเสรี ย่อมาจาก Free Trade Area เป็นการรวมกลุ่มเศรษฐกิจโดยมีเป้าหมายเพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างกันภายในกลุ่ม ที่ทำข้อตกลงให้เหลือน้อยที่สุดหรือเป็น 0% เช่น เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ไทย-ญี่ปุ่น อาเซียน-เกาหลี

เป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจโดยมีเป้าหมายเพื่อลดอัตราภาษีศุลกากรระหว่างกันภายในกลุ่มที่ทำข้อตกลง ให้เหลือน้อยที่สุดเป็น 0% และใช้อัตราภาษีสูงกว่ากับประเทศนอกกลุ่มข้อตกลง การทำเขตการค้าเสรีในอดีต มุ่งในด้านการเปิดเสรีทางการค้า (Goods) โดยการลดภาษีและอุปสรรคที่มิใช่ภาษีเป็นหลัก แต่เขตการค้าเสรีในระยะหลังนั้นรวมไปถึงการเปิดเสรีด้านบริการ (Service) และการลงทุน (Investment) ด้วย

อ่านเพิ่มเติม ⇵

ความเป็นมาของเขตการค้าเสรี

แนวคิดของการมีนโยบายการค้าเสรี คือประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่ตนเองถนัด และมีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด คือจะผลิตสินค้าที่คิดว่าประเทศตนได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Advantage)มากที่สุด แล้วนำสินค้าที่ผลิตได้นี้ไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าที่ประเทศตนไม่ถนัด หรือเสียเปรียบ โดยแลกเปลี่ยนสินค้ากับประเทศอื่นที่ผลิตสินค้าแล้วได้เปรียบ ดังนั้นประเทศทั้งสองก็จะทำการค้าต่อกันได้ โดยต่างฝ่ายต่างสมประโยชน์กัน (Win-Win Situation)

นโยบายการค้าเสรีมีดังนี้

- การผลิตตามหลักการแบ่งงานกันทำเลือกผลิตสินค้าที่มีต้นทุนการผลิตต่ำและประเทศมีศักยภาพในการผลิตสินค้านั้นสูง
- ไม่เก็บภาษีคุ้มกัน (Protective Duty) เพื่อคุ้มครองหรือปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ
- ไม่ให้สิทธิพิเศษหรือกีดกันสินค้าของประเทศใดประเทศหนึ่ง
- เรียกเก็บภาษีในอัตราเดียวและให้ความเป็นธรรมแก่สินค้าของทุกประเทศเท่ากัน ไม่มีข้อจำกัดทางการค้า (Trade Restriction) ที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศไม่มีการควบคุมการนำเข้า หรือการส่งออกที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศ ยกเว้นการควบคุมสินค้าบางอย่างที่เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสินค้าที่เกี่ยวด้วยศีลธรรมจรรยาหรือความมั่นคงของประเทศ

ความหมายของเขตการค้าเสรี

เขตการค้าเสรี หมายถึง การวมกลุ่มเศรษฐกิจโดยมีเป้าหมายเพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างกันภายในกลุ่ม ที่ทำข้อตกลงให้เหลือน้อยที่สุดหรือเป็น 0% และใช้อัตราภาษีปกติที่สูงกว่ากับประเทศนอกกลุ่ม การทำเขตการค้าเสรีในอดีตมุ่งในด้านการเปิดเสรีด้านสินค้า โดยการลดภาษีและอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีเป็นหลักแต่เขตการค้าเสรีในระยะหลัง ๆ นั้น รวมไปถึงการเปิดเสรีด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น ด้านการบริการการลงทุน เป็นต้น

เขตการค้าเสรีที่สำคัญของไทย

เขตการค้าเสรีที่มีมูลค่าสูงในทางการค้า ได้แก่ เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ไทย-ญี่ปุ่น อาเซียน-เกาหลี เป็นต้น

ประโยชน์และผลกระทบของการทำ FTA

ในภาพรวมแล้วการทำ FTA มีทั้งผลดีและผลกระทบ แต่คู่เจรจาได้พยายามศึกษารวบรวมข้อมูล และเจรจาเพื่อให้ต่างฝ่ายต่างพอใจ ได้รับผลประโยชน์มากที่สุด หรือได้รับผลกระทบน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม สภาพแวดล้อมเฉพาะ และสภาพแวดล้อมทั่วไปของคู่เจรจาจะแตกต่างกันไปในแต่ละ FTA หากจะวิเคราะห์แต่ละด้านของแต่ละ FTA จะมีบางกลุ่มอุตสาหกรรม บางกลุ่มสินค้าได้ประโยชน์ บางกลุ่มสินค้าไม่ได้รับผลกระทบ สำหรับกลุ่มสินค้าที่ได้รับผลกระทบ การเจรจาก็สามารถยืดเวลาในการลดหรือยกเว้นภาษีออกไปจนกว่าภาคการผลิตจะสามารถปรับตัวได้ หรือภาครัฐจะเข้ามาช่วยเหลือ เยียวยา ชดเชยผลกระทบเหล่านั้นในภาพรวมการทำ FTA น่าจะมีประโยชน์ดังนี้

- ลดอุปสรรคทางการค้าทั้งที่เป็นอุปสรรคทางภาษี และที่มิใช่ภาษี
- เพิ่มมูลค่าในทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก
- เพิ่มโอกาสการส่งออก ได้ตลาดใหม่ และขยายตลาดเดิม
- เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
- สร้างอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจ การเมือง
- ให้ความร่วมมือทางด้านศุลกากร การแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลการลักลอบ หลีกเลี่ยง และสินค้าอันตราย สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์
- พัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจ และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ
- ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่น ๆ และเทคโนโลยีการผลิต
- สร้างความสัมพันธ์ให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น

สรุปให้เข้าใจง่ายๆ FTA สำคัญกับการส่งออกยังไง
ประเทศคู่ค้าที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขของ FTA สามารถลดหย่อนภาษีนำเข้าสินค้าได้ โดยใช้ฟอร์มตามที่กำหนด ยกตัวอย่างเช่น ผู้ส่งออกไทยส่งสบู่ไปยังประเทศจีน แน่นอนว่าประเทศไทยเรามี FTA กับประเทศจีนอยู่ ผู้นำเข้าจากประเทศจีนต้องการลดหย่อนภาษีนำเข้าของสินค้าล็อตนี้ จึงได้ทำการขอ หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin) จากทางผู้ส่งออก ในส่วนผู้ส่งออก ต้องดำเนินการออกเอกสาร CO โดยใช้แบบฟอร์ม E โดยดำเนินการที่หน่วยงานที่รับผิดชอบ (น่าจะเป็นกรมการค้าต่างประเทศ) มีค่าใช้จ่ายไม่แพงมากนัก แอร์เย็น เจ้าหน้าที่ค่อนข้างช่วยเหลือ ซัพพอร์ตดี การขอ CO มีเรื่องสำคัญที่ผู้ส่งออกต้องทราบให้แน่ชัดคือ ประเทศคู่ค้า ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข FTA จะใช้แบบฟอร์มไหน สินค้าที่ส่งออกนั้นมีพิกัดอะไร

ข้อมูลทั้งหมดนี้สามารถสืบค้นหรือสอบถามเจ้าหน้าที่ได้ที่กรมศุลกากร หรือกรมการค้าต่างประเทศ หรือค้นหาเองจะดีมาก เพราะเป็นสิ่งที่ผู้ส่งออกต้องรู้ ใบ CO นี้มีผลดีต่อผู้นำเข้า เพราะช่วยลดหย่อนภาษีนำเข้าได้ บางสินค้าอาจจะไม่เสียเลยขึ้นอยู่กับพิกัดของสินค้าและประเทศคู่ค้านั้นๆตามข้อตกลงของ FTA ในกรณีที่ต้องการนำเข้าสินค้า เราก็สามารถใช้ประโยชน์จากตรงนี้ได้ คือขอ CO จากทางผู้ผลิต เราจึงต้องรู้เรื่องพิกัดสินค้า FTA ต่างๆที่ประเทศไทยมีอยู่ และเงื่อนไขต่างๆ

เรื่องการขอ CO และแบบฟอร์มที่ต้องใช้ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้บทความเรื่อง หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin)

อ้างอิงข้อมูลจาก
กรมศุลกากร https://www.customs.go.th/
กรมการค้าต่างประเทศ https://www.dft.go.th/

แนะนำเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
  • CO หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า - Certificate of Origin

    CO หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า - Certificate of Origin

    CO หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า - Certificate of Origin C/O, CO คืออะไร ย่อมาจากอะไร CO ย่อมาจาก Certificate of Origin คือ หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (หรือจะเรียกว่า หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า ก็ได้ ขอให้เข้าใจความหมายก็พอ) เพื่อรับรองสินค้าของผู้ส่งออกว่าส่งออกมาจากประเทศใด และผลิตได้ถูกต้องตามกฎที่ว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า

    การส่งออกสินค้า

  • เขตการค้าเสรี - FTA (Free Trade Area)

    เขตการค้าเสรี - FTA (Free Trade Area)

    เขตการค้าเสรี - FTA (Free Trade Area) FTA คือ เขตการค้าเสรี ย่อมาจาก Free Trade Area เป็นการรวมกลุ่มเศรษฐกิจโดยมีเป้าหมายเพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างกันภายในกลุ่ม ที่ทำข้อตกลงให้เหลือน้อยที่สุดหรือเป็น 0% เช่น เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ไทย-ญี่ปุ่น อาเซียน-เกาหลี

    การส่งออกสินค้า

  • อยากส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ เริ่มต้นธุรกิจส่งออกสินค้า

    อยากส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ เริ่มต้นธุรกิจส่งออกสินค้า

    อยากส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ เริ่มต้นธุรกิจส่งออกสินค้า สำหรับผู้ประกอบการ SME ที่เป็นผู้ผลิตสินค้าเองและขายภายในประเทศ อยากส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศ อาจจะมีข้อสงสัย มีสิ่งที่อยากรู้อยากเตรียมตัวว่า เริ่มต้นส่งออกสินค้ายังไง เริ่มต้นธุรกิจส่งออกสินค้า ควรเริ่มยังไงก่อนดี มองภาพรวมไม่ออก อยากลองทำดูแต่กลัวไปหมด เอาน่า ทุกอย่างล้วนเริ่มต้นจากก้าวเล็กๆนี่แหระ

    การส่งออกสินค้า ธุรกิจ SME

  • กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ - กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

    กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ - กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

    กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ - กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ แนะนำหน่วยงานที่ข้องกับการส่งออก กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และ กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เพื่อยกระดับมาตราฐานการส่งออกสินค้าไทย

    การส่งออกสินค้า ธุรกิจ SME

  • ขั้นตอนการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ เอกสารการส่งออก

    ขั้นตอนการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ เอกสารการส่งออก

    ขั้นตอนการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ เอกสารการส่งออก แนะนำขั้นตอนการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศสำหรับผู้ประกอบการ SME ที่อยากส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศ ศัพย์พื้นฐานในการส่งออกที่ควรรู้ ช่องทางในการหาลูกค้าต่างประเทศและอื่นๆที่เป็นประโยชน์ในการทำธุรกิจส่งออกสินค้า

    การส่งออกสินค้า

Rannthai.Com: 19 ก.พ. 2565