Home » ธุรกิจส่งออก » บทความธุรกิจ SME » ธุรกิจ SMEs ไทย กับความท้าทายและการแข่งขันทางเศรษฐกิจ

ธุรกิจ SMEs ไทย กับความท้าทายและการแข่งขันทางเศรษฐกิจ

ธุรกิจ SMEs ไทย กับความท้าทายและการแข่งขันทางเศรษฐกิจ

ประเทศไทยมีทรัพยากรที่สมบูรณ์อย่างมากที่จะขับเคลื่อนและพัฒนา เศรฐกิจไทย ให้ไปข้างหน้าได้ ทั้งอากาศเย็นๆ ทางภาคเหนือ ที่เหมาะกับสินค้าเมืองหนาว อากาศร้อนอย่างภาคอีสาน ที่เหมาะกับสินค้าอย่าง อ้อย มันสำปะหลัง ภาคใต้ที่พื้นที่ยื่นออกไปในทะเล หากินได้ทั้งสองชายฝั่ง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ที่เต็มไปด้วยแหล่งท่องเที่ยว แต่ทำไมผู้ประกอบการ ธุรกิจ SMEs ไทย ส่วนใหญ่จึงยังคงต่อสู้ดิ้นรนเพียงลำพัง ในสภาวะที่เศรษฐกิจโลกชะรอตัว การแข่งขันทางเศรษกิจเป็นไปอย่างดุเดือด ช่องทางในการขาย การเผยแผร่สินค้า ข้อมูลข่าวสาร เริ่มยกระดับจากออฟไลน์ขึ้นสู่ออนไลน์มากขึ้น และดูเหมือนว่า นี่เป็นแค่เพียงการเริ่มต้นของการทำการตลาดเท่านั้น ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs จะปรับตัวยังไง ความท้าทายที่รออยู่เบื้องหน้า ท่ามกลางคู่แข่งทางการค้าที่เพื่มขึ้น และเก่งขึ้นเรื่อยๆ เหล่า SMEs ไทย รุ่นใหม่ๆ จะรับมือยังไง จะปรับปรุงพัฒนาให้มากขึ้นหรือจะหยุด แล้วพึ่งพาการนำเข้า คอยแต่ซื้อจากประเทศอื่นเพียงอย่างเดียว

อ่านเพิ่มเติม ⇵

ธุรกิจ SME มีความสำคัญและมีผลยังไงต่อเศรษฐกิจไทย

โครงสร้างของเศรษฐกิจไทย มีภาค ธุรกิจ SME เป็นส่วนใหญ่ที่คอยขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ (จริงๆก็เกือบทุกประเทศนั่นแหละ ที่มีภาคธุรกิจ SME เป็นฐาน) แน่นอนว่าธุรกิจขนาดใหญ่ในประเทศไทยนั้นมีอยู่เพียงไม่กี่เจ้าเท่านั้นที่ส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศและยังคงมีสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนธุรกิจทั้งหมดภายในประเทศ เหล่า SME ในไทยหรือธุรกิจขนาดเล็กและขนาดย่อมซึ่งเป็นภาคธุรกิจหลักในประเทศนั้น และ SMEs ไทย มีจำนวนน้อยลงไปอีกที่มีศักยภาพพอที่จะส่งออกสินค้าได้ เมื่อเทียบกับจำนวนธุรกิจทั้งหมดในไทยและเทียบกับต่างประเทศที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อย่าง เวียดนาม อินโดนีเซีย เป็นต้น

ธุรกิจ SME เป็นเหมือนฟันเฟืองหลักของเศรษฐกิจภายในประเทศ บางรายสามารถสร้างสินค้าหรือบริการขึ้นมาเอง แล้วจัดจำน่ายผ่านช่องทางต่างๆ หรือบางรายส่งสินค้าให้กับบริษัทใหญ่ๆต่อไป ดังนั้นเราจะเห็นว่า ธุรกิจ SME นั้นมีอยู่ทุกพื้นที่ ทุกประเภท มีการเชื่อมโยง ซื้อขาย แลกเปลี่ยน หมุนเวียนอยู่ภายในระบบตลอดเวลา แต่จะมีซักกี่เจ้าที่ยังคงยืนหยัดและเติบโต หรือเพียงแค่ประคับประคองตัวเองต่อไปได้ เพราะทุกวันนี้ เราจะเห็น SME รายใหม่เกิดขึ้น และรายเก่าก็หายไป อันนี้เป็นเรื่องปกติ มีการเกิดดับอยู่ตลอดเวลา แต่ที่น่าห่วงคือ บางบริษัทมีอายุเพียงไม่กี่ปี ก็เป็นอันต้องล้มเลิก พับเสื่อพับหมอนกลับบ้านไป ปัญหาคืออะไรกัน เหล่า SME ไทย กำลังเผชิญกับปัญหาที่ไร้ทางออกหรือยังสู้ไปสุดกันแน่

ข้อจำกัดในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของ SME ไทย

ปัญหาและอุปสรรคของ SME ไทย หรือข้อจำกัดขีดความสามารถของการแข่งขันทางเศรษฐกิจของเหล่า SMEs นั้น ส่วนหนึ่งมาจากความรู้ความสามารถในการผลิตหรือสร้างนวัฒตกรรมใหม่ๆ ที่จะนำผสมผสานกับภูมิปัญญาทัองถิ่น เพื่อเพื่มมูลค่าให้กับตัวสินค้าและบริการนั้นๆ อย่างเหมาะสม

ทักษะความรู้ ความสามารถ จินตนาการ ยังมีไม่พอ

ปัญหาขาดแคลนแรงงานที่ไร้ทักษะเฉพาะทาง การขาดการพัฒนาตราสินค้าของตนเอง หรือขาดความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการ ปัญหาเหล่านี้ ดูๆแล้วไม่ใช่เรื่องที่ยากลำบากในการแก้ไขและปรับปรุง การพัฒนาขีดความสามารถของผู้ผลิตนั้นทุกวันนี้สามารถเรียนรู้ได้หลายช่องทาง และยังคงมีผู้ประกอบการที่ยังกระตือรือล้นที่จะพัฒนาศักยภาพของตัวเองอยู่ เพียงแต่จำนวนไม่มากนัก และเมื่อหันไปมองทรัพยากรของประเทศรุ่นเยาว์แล้ว ก็ต้องยอมรับว่า ความสนใจ แรงบันดาลใจ จินตนาการ ยังมีไม่มากพอ ตัวอย่างเช่น มีคนมากมายที่ขายสินค้าบนเฟสบุ๊ค แต่มีซักกี่คนที่สินค้าที่ขายนั้น เป็นสินค้าที่ตัวเองผลิตขึ้น เพราะส่วนใหญ่จะชอบทำงานสบายๆ หาสินค้าจากที่อื่นแล้วนำมาขายต่อเต็มไปหมด แต่ส่วนน้อยที่คิดจะสร้างสินค้านั้นขึ้นมาเองโดยการสังเกตุ ปรับปรุงและพัฒนา ให้สินค้าตัวเองมีคุณภาพที่ดีกว่า

ขาดเทคโนโลยี เครื่องไม้เครื่องมือ ในการสร้าง วิจัยและพัฒนา

เรายังขาดเทคโนโลยีที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้า และถ้าพูดเรื่องเทคโนโลยี มันก็จะวนมาเกี่ยวกับระบบหรือโครงสร้างทางการศึกษาของบ้านเรา เราต้องยอมรับเรื่องการศึกษาในบ้านเราก่อนว่า ระบบมันยังคงสอนให้คนเป็นผู้ตามมากกว่าผู้นำ เป็นผู้ใช้เทคโนโลยีมากกว่าผู้ผลิตหรือผู้สร้างเทคโนโลยี การจะสร้าง คิดค้นหรือพัฒนาสินค้าแต่ละตัว จึงเป็นไปได้อย่างยากลำบาก เช่น บ้านเรามีสมุนไพรมากมาย มีพื้นที่มากมาย แต่ถ้าคิดจะสกัดเอาน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรเหล่านั้น คุณจะทำยังไง ให้ได้ผลผลิตมากที่สุด ความรู้ เทคโนโลยี หาได้จากที่ไหน การต่อยอดทางของสินค้า มันจึงสิ้นสุดอยู่แค่นั้น สาเหตุมาจากอะไร คนไทยโง่เหรอ ไม่ใช่แน่ๆ คนไทยขี้เกียจ ไม่มีความทะเยอทะยานเหรอ อันนี้ก็มีบ้าง แต่ไม่ใช่ทั้งหมดแน่ๆ

ช่องทางในการทำการตลาด การเผยแผร่สินค้าบนโลกออนไลน์

ใช่ว่าสินค้าหรือบริการทุกอย่าง จะต้องอยู่บนโลกออนไลน์เท่านั้น ยังอยู่ที่ออฟไลน์ก็ได้ แต่ชื่อบริษัทของคุณ สถานที่ การติดต่อ รายละเอียดเกี่ยวกับสินค้า บริการ หรือรายละเอียดผู้ประกอบการ อยู่บนโลกอินเตอร์เน็ท มันจะช่วยเพิ่มโอกาสให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น อย่างน้อยถ้าผู้เยี่ยมชมไม่สั่งสินค้า ไม่มาใช้บริการ แต่เค้าจะรับรู้แบรนของคุณ ตึ1 ตี2 ร้านค้าส่วนใหญ่ปิดหมด แต่โลกออนไลน์ไม่เคยหลับไหล ถ้าตอนนี้ประเทศไทยเป็นกลางคืน แต่ฟากหนึ่งจะเป็นกลางวัน ดังนั้น การที่ธุรกิจของคุณโลดแล่นอยู่บนโลกออนไลน์ ย่อมมีแต่ผลดี ผู้ประกอบการในไทยยังคงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้น้อย ตอนนี้ถึงเวลาที่ต้องโปรโมทธุรกิจของคุณแล้วล่ะ

ความช่วยเหลือจากของภาครัฐและเอกชน

การเข้าถึงการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีทั้งจากภาครัฐและเอกชนยังน้อยเกินไป ขาดการเข้าถึงแหล่งเงินทุน สำหรับความช่วยเหลือที่สำคัญของภาคเอกชนต่อ SMEs ได้แก่ มาตรการความช่วยเหลือทางการเงินจากการลงนามบันทึกข้อตกลงระหว่างสภาหอการค้าไทยฯ สภาอุตสาหกรรมฯ และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวกับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย) ช่วยเหลือ SMEs ที่อยู่ในสังกัดของ 3 สภานี้ ซึ่งมีจำนวนผู้ประกอบกว่า 90,000 ราย ในขณะที่ SME ไทยมีเป็นล้านราย และนั่นจึงเป็นที่เกิดขึ้นของเงินกู้นอกระบบ

แม้ว่าผู้ประกอบการในภาค ธุรกิจ SME ของไทยจะมีความแข็งแกร่งมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียนที่เป็นคู่แข่ง เช่น อินโดนีเซีย และเวียดนาม แต่การพัฒนาและการเติบโตในบ้านเราถือว่าน่าเป็นห่วงอย่างมาก ยิ่งสโลแกนที่สวยหรูว่า "ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางเศรฐกิจโลก" อยากจะขอถามตรงๆว่า "ชาติไหน" เหรอ มองๆดูแล้ว ประเทศไทยเป็นประเทศที่สมบูรณ์แบบมาก การขนส่งทั้งทางอากาศ ทางเรือ เป็นไปได้อย่างง่ายดาย แต่ทำไมเหล่าผู้ประกอบการ SMEs ไทยส่วนใหญ่จึงดิ้นรนกันอย่างยากลำบาก ภายใต้ข้อจำกัดหลายอย่าง ใครรู้ช่วยบอกหน่อย (หรือว่าจะเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ของผู้นำ... ;)

สำหรับธุรกิจส่งออก หาลูกค้าและผู้ซื้อต่างประเทศด้วยแพลตฟอร์ม B2B

Rannthai คือ เว็บไซต์ลงโฆษณาสินค้า โดยเน้นที่สินค้าส่งออกไปต่างประเทศ เพื่อผู้ประกอบการ SMEs ที่ทำธุรกิจส่งออกสินค้า สมาชิกสามารถลงสินค้าและโปรโมทสินค้านั้นๆได้ที่ Thai B2B website ธุรกิจส่งออก

แนะนำเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
  • อยากส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ เริ่มต้นธุรกิจส่งออกสินค้า

    อยากส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ เริ่มต้นธุรกิจส่งออกสินค้า

    อยากส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ เริ่มต้นธุรกิจส่งออกสินค้า สำหรับผู้ประกอบการ SME ที่เป็นผู้ผลิตสินค้าเองและขายภายในประเทศ อยากส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศ อาจจะมีข้อสงสัย มีสิ่งที่อยากรู้อยากเตรียมตัวว่า เริ่มต้นส่งออกสินค้ายังไง เริ่มต้นธุรกิจส่งออกสินค้า ควรเริ่มยังไงก่อนดี มองภาพรวมไม่ออก อยากลองทำดูแต่กลัวไปหมด เอาน่า ทุกอย่างล้วนเริ่มต้นจากก้าวเล็กๆนี่แหระ

    การส่งออกสินค้า ธุรกิจ SME

  • กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ - กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

    กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ - กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

    กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ - กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ แนะนำหน่วยงานที่ข้องกับการส่งออก กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และ กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เพื่อยกระดับมาตราฐานการส่งออกสินค้าไทย

    การส่งออกสินค้า ธุรกิจ SME

  • SME คืออะไร - ธุรกิจ SMEs ย่อมาจากอะไร

    SME คืออะไร - ธุรกิจ SMEs ย่อมาจากอะไร

    SME คืออะไร - ธุรกิจ SMEs ย่อมาจากอะไร SME คือ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งเป็นความหมายในภาษาไทยที่ใช้กันอย่างเป็นทางการ และ SMEs กับ SME นั้นมีความหมายเหมือนกัน SME (เอสเอ็มอี) ย่อมาจาก “Small and Medium Enterprise” ธุรกิจ SMEs มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นอย่างมาก อาจจะกล่าวได้ว่า ความเข้มแข็งของเศรษฐกิจโดยรวมภายในประเทศวัดได้จากความมั่นคงของเหล่าธุรกิจ SMEs ภายในประเทศเลยก็ว่าได้ โดยธุรกิจ SMEs นั้นจะครอบคลุมกิจการ 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ผลิตสินค้า, ค้าส่งและค้าปลีก และการให้บริการ

    ธุรกิจ SME

  • ธุรกิจ SMEs ไทย กับความท้าทายและการแข่งขันทางเศรษฐกิจ

    ธุรกิจ SMEs ไทย กับความท้าทายและการแข่งขันทางเศรษฐกิจ

    ธุรกิจ SMEs ไทย กับความท้าทายและการแข่งขันทางเศรษฐกิจ โครงสร้างของเศรษฐกิจไทย ธุรกิจ SME เป็นธุรกิจที่คอยขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ความแข็งแกร่งและมั่นคงของเศรษฐกิจโดยรวม มาตราฐานความเป็นอยู่ของประชาชน จะขึ้นอยู่กับการเติบโตของ ธุรกิจ SMEs ภายในประเทศ นั่นคือประเทศไหนที่ภาคธุรกิจ SME มีความแข็งแรง เศ

    ธุรกิจ SME

Rannthai.Com: 30 พ.ค. 2563